วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความรู้เรื่อง คณิตศิลป์ กับ Origami


เรื่อง   คณิตศิลป์ กับ Origami


     คณิตศิลป์  ศิลปะการพับกระดาษเป็นการฝึกสมองให้คิด ถ้าได้ออกแบบการสร้างสรรค์การพับกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นการช่วยให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์ ได้รวบรวมงานคณิตศิลป์
     Origami ศิลปะพับกระดาษของญี่ปุ่น รูปทรงต่างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น ปริซึม ทรงสี่เหลี่ยม  ทรงสามเหลี่ยม  ทรงหลายเหลี่ยม ฯลฯ


     กระดาษต่างๆ ที่ใช้ในการพับ
- กระดาษปอนด์  กระดาษชนิดนี้เป็นกระดาษที่หาได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วๆไป จะขายเป็นรีม อาจจะเรียกว่ากระดาษถ่ายเอกสาร จะมีหลายขนาด แต่ที่พบบ่อยๆก็คือ กระดาษ A4 ซึ่งเป็นกระดาษที่ใช้กันทั่วไป


 - กระดาษคราฟท์สำหรับกระดาษคราฟท์ จะเป็นกระดาษเนื้อหยาบ มักจะเป็นสีน้ำตาล แต่ก็มีแบบที่เป็นสีขาว เรียกว่ากระดาษคราฟท์ฟอกขาว สามารถหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนใหญ่ๆ โดยมักจะขายเป็นม้วน กระดาษคราฟท์โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้เป็นกระดาษเพื่อฝึกการพับได้ดี


 - กระดาษปรู๊ฟกระดาษชนิดที่สามเรียกว่ากระดาษปรู๊ฟ จะขายเป็นม้วนๆเหมือนกัน มีราคาถูก คุณสมบัติของกระดาษคือจะเป็นกระดาษที่ค่อนข้างบาง และเนื้อเหนียว เป็นเนื้อกระดาษแบบเดียวกับที่ใช้พิมพ์
หนังสือพิมพ์ สามารถใช้พับได้ดี


 -   หรือจะเป็นกระดาษสีกระดาษห่อของขวัญ หรือกระดาษที่มีลวดลายสวยงาน ที่สามารถนำมาพับกระดาษสร้างงาน คณิตศิลป์ได้
-งานพับกระดาษ Origami หลายๆ รูปแบบที่เราสามารถค้นคว้าได้เองตามอินเตอร์เน็ต




วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
1. ที่รองตัดกระดาษ
 2. คัตเตอร์
 3. กรรไกร
 4. ไม้บรรทัดยาว
 5. กาวลาเทกซ์
 6.กระดาษสี หรือ กระดาษ A4 ที่ใช้แล้ว หรือกระดาษอื่นๆ ที่ต้องการ

                                                     ภาพที่ 1   แสดงวัสดุอุปกรณ์



ภาพที่  2    (Origami รูปแบบต่างๆ )




การดำเนินงาน


- เตรียมนำวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมในการจะออกแบบการพับกระดาษตามรูปทรงที่ต้องการ
-ศึกษาข้อมูลวิธีการพับที่ถูกต้องและสามารถทำได้เอง
-เริ่มลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ศึกษามา
-วิเคราะห์ผลงานของตัวเองว่าเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์อย่างไร
ตัวอย่างเช่นการพับ Origami

1. กล่องทรงลูกบาศก์ อย่างง่าย









 ภาพที่ แสดงตัวอย่างการพับทรงลูกบาศก์อย่างง่าย
 -เราสามารถพับกระดาษประกอบเป็นรูปทรงที่ยากขึ้นได้ โดยการเรียนรู้ไปจากวดีโอ จากยูทูป เช่น



ภาพที่ 4  Origami Magic Ball ดูได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=7QC2cusdt-E


ภาพที่ 5 Origami Magic Rose Cube ดูได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=A8EyLFWXV_0


ภาพที่ 6     Origami Spike Ball ดูได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=xhqY2p3kV1g




 ภาพที่ 7  Origami Compound of 5 Octahedra ดูได้จาก  https://www.youtube.com/watch?v=9W8f57xju3o



ภาพที่ 8   Origami Fireworks ดูได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=z0-mlZvJD-E

 และที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นเราสามารถค้นหาข้อมูลแล้วนำมาประดิษฐ์ ด้วยตัวเราเองได้ ไม่ยากยังเป็นการฝึกสมาธิและมีความคดที่สร้างสรรค์อีกด้วย
       
                                                               การนำไปใช้

         นำไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ทางด้านคณิตศิลป์  เป็นการฝึกสมาธิและมีความคิดที่สร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ในด้านสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ และศิลปะได้และยังสามารถเป็นโมเดลในการออกแบบผลงาน นำไปประดับตกแต่งและต่อยอดเป็นผลงานหรือชิ้นงานอื่นๆ ได้





                                                 สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ


     สรุปผลการดำเนินงาน

             การทำโครงงานคณิตศิลป์ กับ origami มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะที่เกิดจากเส้นตรง  มุม  ฯลฯ  มาให้นักเรียนได้ปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆและรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประกอบโดยอาศัยความ  โดยใช้เทคนิคการตัดกระดาษ  การพับกระดาษแล้วสอด (Origami)  เพื่อให้ได้ทรงเรขาคณิตในแบบต่างๆ  ซึ่งชิ้นงานเหล่านี้มีรูปแบบและสีสันที่สวยงามแปลกตา  สามารถนำไปใช้เป็นอุปกรณ์การสอนสาระเรขาคณิต  จึงได้เป็นที่น่าสนใจที่จะนำเรื่องนี้มาทำเป็นโครงงานเรื่อง คณิตศิลป์กับ Origami เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากกิจกรรมการพับกระดาษ เป็นการสร้างจินตนาการที่กว้างไกล และเกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน จากการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประกอบและนักเรียนได้ประดิษฐ์งานของนักเรียนเอง  ออกแบบชิ้นงานเอง  อันจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและความสนุกสนานในการเรียน สรุปได้ว่า การทำ origami สามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ได้
       สามารถสรุปได้ ดังนี้  การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นมีผู้ให้ความสนใจในเรื่อง Origami มากขึ้น เบื้องต้นหลายคนที่นำเสนอโครงงานให้ฟังเขาสามารถเข้าใจ และลองประดิษฐ์ชิ้นงานได้เอง ผลงานที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบลูกบาศก์ซึ่งมีหลักการทำที่เข้าใจได้ง่าย
  ปัญหาและอุปสรรค
- เวลาในการดำเนินกิจกรรม
- ชิ้นงานบางชิ้นมีการทำที่ซับซ้อน ทำให้เกิดการเข้าใจได้ยากต่อผู้เรียนรู้
-การสื่อสาร และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม


   ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา

- การจัดทำโครงงานควรมีสมาชิกมากกว่า 1 คน เนื่องจากจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และมีผู้ช่วยค้นหาข้อมูล
-การร่วมมือของผู้รู้ทางด้านที่เราศึกษาควรมีเวลาพบพูดคุยและปรึกษาหารือให้มากขึ้น
-เนื้อหายังไม่เพียงพอต่อการจัดทำโครงงาน เนื่องจากโครงงานควรเป็นการเปรียบเทียบทดลองเพื่อสร้างความน่าสนใจและระดับความยากขึ้น



ประวัติผู้จัดทำ



ชื่อนางสาวอรพรรณ ธรรมกิจ


ชื่อเรื่อง   คณิตศิลป์ กับ Origami
สาขาวิชา คณิตศาตร์ ระดับ วท.บ + ค.บ. 5/3

ประวัติส่วนตัว
วันเดือนปีเกิด  : 10 กุมภาพันธ์  2536
ที่อยู่ปัจจุบัน    : 77 หมู่ 13 บ้านละลม ตำบลละลม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 33140
ประวัติการศึกษา
ปี 2548 ระดับชั้น ประถมศึกษา   จากโรงเรียนบ้านละลม
ปี 2551  ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น   จากโรงเรียนละลมวิทยา
ปี 2554  ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย   จากโรงเรียนละลมวิทยา
ปัจจุบันกำลังศึกษา ชั้นปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์





ประวัติความเป็นมาของ origami

                              

ประวัติความเป็นมาของ origami


       เมื่อกล่าวถึง คำว่า "Origami" ทุกคนมักนึกถึงการพับกระดาษซึ่งมีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นที่เข้าใจกันดีว่า "Origami" มาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า "Ori" ที่แปลว่า "พับ" และคำว่า "Kami" ที่แปลว่า "กระดาษ" เมื่อเรียกกันนานๆเข้า คำศัพท์เกิดเพื้ยนไปเป็น "Origami" นั่นเอง


การรุกรานของมัวร์ ซึ่งเป็นชนเผ่าแอฟริกาเหนือที่เข้ามาในสเปนช่วงคริสตศตวรรษที่ 8 ได้ทิ้งมรดกชิ้นสำคัญไว้ คือการพับกระดาษที่เรียกว่า “ปาคาริต้า” การพับกระดาษในประเทศแถบยุโรปจึงรุ่งเรืองมากในประเทศสเปน ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมที่ได้รับการยอมรับ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน


ในศตวรรษที่ 19 มีหลักสูตรการพับกระดาษเกิดขึ้นในการศึกษาระดับชั้นอนุบาลของประเทศเยอรมัน เพื่อเป็นตัวช่วยการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และฝึกฝนสมาธิ็ให้เด็กๆ ซึ่งในปัจจุบัน การพับกระดาษได้หายไปจากหลักสูตรอนุบาลเยอรมันเสียแล้ว




                   ในประเทศญี่ปุ่น ช่วงคริสตศตวรรษ ที่ 17 การพับกระดาษยังไม่เป็นที่กว้างขวางมากนัก เนื่องมาจากกระดาษมีราคาแพง มักมีเล่นได้คนชั้นสูง และเหล่าซามูไร ซึ่งคนเหล่านี้มักถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่คนในตระกูลเท่านั้น สังเกตได้จากพวกซามูไร ที่จะมีธรรมเนียมการห่อของขวัญเป็นรูปแบบเฉพาะตัว และต่อมาในศตวรรษที่ 18 หนังสือเล่มหนึ่งถูกเขียนขึ้นในชื่อ “วิธีพับนกกระเรียนพันตัว” ซึ่งสร้างความแปลกใหม่ในวงการพับกระดาษ จึงถือให้หนังสือเล่มนี้เป็น ”หนังสือพับกระดาษเชิงนันทนาการเล่มแรกของโลก”
          วิธีการและรูปแบบการพับกระดาษได้พัฒนา เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อเทียบกับการพับกระดาษเป็นรูป “กบ” และ “นก”  ในสมัยก่อนศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นการพับกระดาษแบบธรรมดาทั่วไปและเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุด ผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดรูปแบบการพับนกแบบเดิมๆ ที่พับกันมานานเป็นร้อยปี เป็นอะไรที่สร้างสรรค์กว่า และสวยงามกว่า คือ อากิระ โยชิซาวา ปรมาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่ออกมาแสดงผลงานแหวกแนวคลาสสิก ท่านเสียชีวิตเมื่อปี 2005 แต่สิ่งสำคัญที่ท่านทิ้งไว้คือ สัญลักษณ์การพับกระดาษสากลนั่นเอง ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักพับกระดาษทั้งตะวันออกและตะวันตก เพราะถือเป็นภาษาของนักพับกระดาษที่เข้าใจกันทั่วโลก
          การพับกระดาษในยุคสมัยใหม่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมานี้เอง เป็นการพับแบบที่แหวกแนวคลาสสิก ไม่ยึดติดกฎเกณฑ์เก่าๆที่ต้องเริ่มจากการพับครึ่งตามแบบฉบับของโอริกามิ ผลที่ได้คือโมเดลกระดาษที่สวยงาม แปลกตา เหนือจินตนาการ ในปัจจุบัน มีการศึกษาโอริกามิในเชิงคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์อย่างจริงจัง การพับกระดาษสามารถอธิบายตรีโกณมิติ ถอดสมการพหุนาม และหาค่ารากที่สองของจำนวนจริงได้ ทั้งยังใช้ในการพับแผนที่ พับถุงลมนิรภัย บรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แม้กระทั่งเป็นต้นแบบให้กับการพับแผงเซลแสงอาทิตย์ของดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปสู่อวกาศ ทุกวันนี้นักพับกระดาษบางคนได้คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบโอริงามิของพวกเขา จนเราสามารถพูดได้ว่าขอบเขตของโอริกามิไม่มีขีดจำกัดอีกแล้ว




ตัวอย่าง การพับกระดาษ รูปแบบต่างๆ

ตัวอย่างการพับกระดาษ รูปแบบต่างๆ


การพับกล่องดอกไม้

การพับปาก 


การพับกล่องสี่เหลี่ยม


การพับดอกลิลลี่



เป็นต้น ลองนำเทคนิคต่างๆไปพับดูนะค่ะ รับรอบสนุกและบำบัดจิตใจเราไปด้แน่นอนค่ะ ^ ^

คณิตศิลป์ กับ Origami



      คณิตศิลป์ กับ Origami


Origami Therapy ฝึกพับกระดาษ บำบัดจิตใจ



                Origami มีการนำไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคความจำสั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เขาเรียกว่าโอริงามิบำบัด ดังนั้นโอริงามิช่วยคุณฝึกความคิดให้เป็นระบบและช่วยฝึกความจำ เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว 

อย่างแรกที่เห็นชัดเจน โอริงามิช่วยผู้ป่วยบางคนในด้านการฝึกใช้ประสาทและกล้ามเนื้อนิ้วมือได้ เพราะการพับกระดาษได้ใช้กล้ามเนื้อมืออย่างเต็มที่ 

อย่างที่ 2 สร้างความคิดที่เป็นระบบ พัฒนาความจำ ฝึกทักษะด้านคณิตศาสตร์ เพิ่มพลังจินตนาการ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มความสนใจที่จะศึกษาลึกซึ้งในด้านอื่นๆต่อไป เพิ่มพลังและประสิทธิภาพของสมาธิ

อย่างที่ 3 พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ของเราได้ ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน รู้จักอดทน เสริมสร้างความมั่นใจ เคารพตนเอง